Get Adobe Flash player
ค้นหาบทความ
ตุลาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

การเริ่มพัฒนาการควบคุมแบบไร้สาย

ทดลองใช้งานเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบพื้นฐานก่อนที่จะไปใช้เทคโนโลยีระดับสูงกันดีกว่า !!!

การเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย

ปัจจุบัน การสื่อสารเกือบทุกชนิดที่เราได้สัมผัส เป็นการสื่อสารแบบไร้สายก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีบลูทูซ WIFI อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าพูดถึงงานทางด้านเทคนิคและการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้แล้ว ค่อนข้างหาคนที่สามารถพัฒนาได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ใช้งานเทคโนโลยี แต่ถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่กำลังมีความสนใจเกี่ยวกับงานด้านนี้ หรือกำลังเริ่มที่จะศึกษาเทคโนโลยีไร้สาย เพื่อนำไปใช้ในงานต่างๆ ที่ท่านสนใจ เช่น การเปิด,ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า การสั่งงานเครื่องจักร เครื่องที่อำนวยความสะดวกให้มนุษย์ หรือแม้กระทั้งระบบรักษาความปลอดภัย
วิธีการที่จะสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไร้สายก็มีหลายวิธี

ซึ่ง ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น บลูทูซ ก็มีเป็นโมดูลมาขายให้ทดลองเล่นกันแล้ว ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่ซื้อมา แต่บางครั้งงานที่ต้องการนำเทคโนโลยีไร้สายเข้าไปช่วย ก็ไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีที่สูงมากนัก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเร็ว โปโตคอลที่ทันสมัย แต่กับต้องการระยะทางที่ไกลมากขึ้น โดยมีข้อมูลที่ส่งเพียงไม่กี่บิต ถ้าจะไปเอาโมดูลที่กล่าวมาแล้วมาใช้งาน ก็คงต้องซื้อแบบที่มีกำลังส่งสูงๆ มา ซึ่งราคาก็จะสูงตามไปด้วย ยิ่งถ้าหากระยะทางในการส่งข้อมูลไกลมากขึ้น ก็คงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกันแน่ ผมเองกลับคิดว่าถ้าเราหาเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดบ้าน เรา ที่ราคาไม่แพงมากนัก สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ก็น่าที่จะเป็นเรื่องดี ผมเองจึงได้คิดโมดูล รับ-ส่ง หรือจะพูดว่าเป็นโมเด็มเอนกประสงค์ก็คงไม่ผิด ซึ่งมีความเร็วที่ไม่มากนัก เหมาะสำหรับงานที่ต้องการระยะทางควบคุมไกลๆ ข้อมูลที่ส่งไม่เร็วมากนัก เช่น สัญญาณควบคุมต่างๆ หรือแม้กระทั้งการนำไปประยุกต์ใช้กับโครงงานที่ต้องการควบคุมระยะทางไกลๆ (หุ่นยนต์สำรวจ) ได้ จึงได้ทดลองและสร้างโมเด็มเอนกประสงค์ขึ้น มีรายละเอียดและการทำงานดังนี้

คุณสมบัติ

  1. ความเร็วในการส่งสัญญาณ 1200 bps
  2. มอดูเลทแบบดิจิตอล (FSK)
  3. รับสัญญาณดิจิตอลอินพุทและส่งสัญญาณดิจิตอลเอาท์พุทเป็นแบบ TTL
    (ต่อใช้งานกับไมโครคอนโทรเลอร์ได้โดยตรง)
  4. มีช่องสัญญาณตรวจสอบสัญญาณคลื่นพาหะ
    (ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเครื่องส่งหยุดส่งสัญญาณหรือยัง)
  5. มีภาคจ่ายไฟให้วงจรในตัว ผู้ใช้สามารถใช้แหล่งจ่ายได้หลายรูปแบบ
  6. สามารถปรับความเร็วให้เหมาะสมกับการใช้งานได้
  7. สามารถสื่อสารแบบ HALF และ FULL DUPLEX ได้
  8. ชิพที่ใช้เป็นมาตรฐาน CCI

 

มาถึงตรง นี้ท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดีก็คงจะสนใจวงจร โมเด็มเอนกประสงค์นี้แล้วใช้ไหมครับ แต่สำหรับท่านที่ไม่มีพื้นความรู้ทางนี้มาก ก็คงที่จะยัง งง… อยู่ใช้ไหมครับ ผมจะขออธิบายต่อละกันครับ สำหรับหลักการที่จะนำวงจรนี้ไปประยุกต์ใช้งาน