DIY
การพัฒนางานต้นแบบ
พูดถึงสายงานการพัฒนางานต้นแบบ ถ้าถามว่าคนไทยสามารถทำได้ไหมเรื่องนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าคนไทยเราเก่งไม่แพ้ใคร เรารับเทคโนโลยีจากทุกๆ ที่ คนไทยมีทักษะด้านการประดิษฐ์อยู่ในสายเลือดก็ว่าได้ จะเห็นว่าเราสามารถดัดแปลงอะไรต่างๆ รอบตัวเพื่อให้ของสิ่งนั้นตอบโจทย์เรามากที่สุด ถ้าดูในเฉพาะสายงานด้านงานต้นแบบที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่นจะสร้างเครื่องอะไรที่เฉพาะงานขึ้นมาสักเครื่อง คนหนึ่งคนต้องสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือจะต้องใช้สายงานอะไรมาช่วยกันลงมือทำ เพื่อให้ได้เครื่องหนึ่งเครื่องออกมา
งานแรกที่ต้องใช้คือ ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ งานด้านควบคุมอาจจะเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ งานออกแบบด้านอินเตอร์เฟส การสื่อสารข้อมูล การเขียนโปรแกรม(รวมถึงการคิดอัลกอริที่ม) งานเครื่องกล ทำระบบกลไกต่างๆ อื่นๆ อีกหลายงานที่เกี่ยวข้อง เช่นถ้าเป็นงานด้านสิ่งแวดล้อมก็คงต้องมีบุคลากรที่มีความรู้เรื่องเคมี ชีวะ มาร่วมมือกัน
App “แสนรู้” บัตรคำอัจฉริยะ
หลังจากนั่งพัฒนาApp บนมือถืออยู่สักพักก็คิดถึงเครื่องช่วยเรียนรู้ภาษาไทย ที่ทำไว้เมื่อหลายปีก่อน เครื่องรุ่นนั้นใช้เครื่องอ่านบาร์โค๊ดกับ MCU 8 bit ตัวเล็กๆ บวกกับไอซีบันทึกเสียง ขั้นตอนการทำก็แสนจะซับซ้อน กว่าจะบันทึกเสียงลง IC แล้วต้องเรียกออกมาทีละเสียงๆ ต่อมาก็เพิ่มเป็นบันทึกเสียงลง sd card แทน เพื่อที่จะได้แก้ไขเสียงได้ง่ายๆ และเผื่อพ่อแม่อยากจะแก้ให้เป็นเสียงตัวเอง ลูกๆ จะได้คุ้นเคย ณ วันนั้นมือถือที่เป็นสมาทโฟนยังไม่มีจำหน่ายในไทยเลยสักยี่ห้อเดียว ณ เวลานี้ปี2560 ในท้องตลาดเต็มไปด้วยมือถือที่เป็นสมาทโฟนเต็มไปหมด ผู้พัฒนาก็ค่อยๆ ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย อะไรที่ไม่ได้ต้องการทำงานแบบหนักหน่วง อึด ทน ถึก หรือต้องไปทำงานในสายงานผลิตหนักๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ MCU อีกต่อไป รวมถึงเครื่องช่วยเรียนรู้ภาษาไทยด้วย เป็นงานที่ทำงานกับเด็กๆ อินเตอร์เฟสต้องง่ายๆ ผู้ใช้งานไม่ต้องตั้งค่าอะไรซับซ้อน เล่นง่ายๆ แบบว่ากดปุ่มเดียวทำงานได้จนจบ เผื่อว่าจะเอาเครื่องทิ้งไว้ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เองก็สามารถทำได้
พัฒนา 3D Print
อินเตอร์เฟส Keyboard PC ด้วย MCS51
อินเตอร์เฟส Keyboard PC ด้วย MCS51
การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว ในงานลักษณะต่างๆ ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานมากๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ Key ควบคุมต่างๆเข้ามาต่อกับระบบ หากมองในมุมของการออกแบบวงจรแล้ว จำนวนสาบสัญญาณทีต่อเข้ากับตัวของ CPU ก็มีผลอย่างมากในการเลือกใช้ IC เบอร์ต่างๆ ยิ่งถ้าการต่อสวิตช์แบบเมตริกแล้ว ถึงแม้ว่าจะลดจำนวนสายที่ต่อลงได้มากกว่าการต่อแบบ บิตต่อบิต แต่ก็ยังถือว่ามากอยู่หากต้องการจำนวนสวิตช์ที่มากขึ้น ต่างกับเทคนิคการสร้างและส่งสัญญาณของ Keyboard PC ที่มีจำนวนปุ่มกดมากกว่าหลายเท่าแต่กลับใช้สายสัญญาณเพียงสองเส้น หรือในงานที่ต้องการส่งสัญญาณแบบที่ต้องใช้สายน้อยจริงๆก็สามารถตัดให้เหลือเพียงเส้นเดียวได้ ดังนั้นการที่จะศึกษาถึงเทคนิคการสร้างสัญญาณของ Keyboard PC ให้ละเอียดแล้วน่าที่จะเป็นการดีที่เราจะสามารถออกแบบงานควบคุมต่างๆได้ โดยควบคุมผ่าน Keyboard PC ที่ราคาไม่ถึงร้อยบาท แต่ได้ฟังก์ชั่นท์การทำงานที่มากขึ้น หรือจะนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆได้อีกมากมาย
การเข้ารหัสข่าวสารแบบตรวจสอบและแก้ที่ผิดด้วย MCS51
การเข้ารหัสข่าวสารเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การส่งข้อมูลเข้าไปยังช่องสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหากส่งข้อมูลไปในช่องสัญญาณโดยไม่มีการเข้ารหัส เมื่อเกิดสัญญาณลบกวนในช่องสัญญาณก็จะทำให้ข้อมูลที่รับได้เกิดความผิดพลาดขึ้น แต่ถ้าหากผู้ส่งมีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูลก่อนส่งแล้ว เมื่อเกิดสัญญาณลบกวนขึ้นในช่องสัญญาณ ภาครับก็ยังสามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่ส่งมาให้ถูกต้องเหมือนข้อมูลต้นฉบับได้ แต่ทั้งนี้วิธีการตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาดจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับหลักการที่นำมาใช้
การทดลองครั้งนี้ผมจะนำไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล MCS51