การพัฒนางานต้นแบบ
พูดถึงสายงานการพัฒนางานต้นแบบ ถ้าถามว่าคนไทยสามารถทำได้ไหมเรื่องนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าคนไทยเราเก่งไม่แพ้ใคร เรารับเทคโนโลยีจากทุกๆ ที่ คนไทยมีทักษะด้านการประดิษฐ์อยู่ในสายเลือดก็ว่าได้ จะเห็นว่าเราสามารถดัดแปลงอะไรต่างๆ รอบตัวเพื่อให้ของสิ่งนั้นตอบโจทย์เรามากที่สุด ถ้าดูในเฉพาะสายงานด้านงานต้นแบบที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่นจะสร้างเครื่องอะไรที่เฉพาะงานขึ้นมาสักเครื่อง คนหนึ่งคนต้องสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือจะต้องใช้สายงานอะไรมาช่วยกันลงมือทำ เพื่อให้ได้เครื่องหนึ่งเครื่องออกมา
งานแรกที่ต้องใช้คือ ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ งานด้านควบคุมอาจจะเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ งานออกแบบด้านอินเตอร์เฟส การสื่อสารข้อมูล การเขียนโปรแกรม(รวมถึงการคิดอัลกอริที่ม) งานเครื่องกล ทำระบบกลไกต่างๆ อื่นๆ อีกหลายงานที่เกี่ยวข้อง เช่นถ้าเป็นงานด้านสิ่งแวดล้อมก็คงต้องมีบุคลากรที่มีความรู้เรื่องเคมี ชีวะ มาร่วมมือกัน
ทีนี้ถ้าเราดูว่าเด็กไทยเราเรียนกันแบบไหน ก็จะเห็นว่าเราเรียนแบบแยกส่วนมากๆ คนที่โปรแกรมเก่งๆ ก็จะไม่รู้งานเรื่องอื่นเลย คนที่รู้เรื่องการสื่อสารก็แทบจะไม่อยากโปรแกรม คนที่เก่งเรื่องกลไก ให้มาดูเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่สนุกแล้ว แต่ก็มีคนบางประเภทที่สามารถทำงานหลา่ยๆด้านได้ในคนคนเดียว ค่าตัวครกลุ่มนี้ก็สูงลิบลิ่ว ส่วนมากจะเป็นที่ปรึกษาเพราะคนกลุ่มนี้ลงมือทำเองมามากแล้ว ถ้าใครเคยร่วมงานกับคนกลุ่มนี้ก็จะรู้ดีว่าทำงานได้ง่ายแค่ไหน ยิ่งถ้าเขาไม่หวงวิชาได้ถ่ายทอดให้บุคลากรคนอื่น แบบนี้หน่วยงาน บ. นั้นๆ ก็จะพัฒนาด้วยความรวดเร็ว คนกลุ่มนี้เมื่อได้ร่วมงานกับคนที่อ้างว่ารู้จริงในสายงานนั้นๆ เขาก็จะรู้ทันทีว่าของจริงหรือของปลอม บางทีเขาไม่พูด แต่ถ้าคุณธรรมมากพอก็อาจจะค่อยๆ บอก คนกลุ่มนี้ด้วยหลายๆ วิธี
สิ่งที่เล่ามานี้ล้วนเป็นประสบการณ์จากผู้เขียนที่ทำงานพัฒนางานต้นแบบมาตลอดอายุการทำงาน อยากจะบอกน้องๆ ที่หลงเข้ามาในเว็บนี้ว่า เราจะรู้เรื่องๆ เดียวต่อไปไม่ได้แล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมในสายงานที่เรามีความเกี่ยวข้อง พยายามใช้เวลาให้คุ้มค่า เมื่อเจอผู้รู้ต้องรีบถามในส่วนที่เราไม่เข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลในปัจจุบันง่ายกว่าสมัยก่อนมาก ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะใช้ไปทำอะไร ทั้งนี้ถ้าเรามองให้ไกลกว่าตัวเรา น้องๆ เป็นอนาคตของประเทศ หากเรายังทำแบบเดิมๆ เราก็ได้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากเดิม
เว็บ thaiamp.com ช่วงหลังๆมานี้จะรับงานพัฒนาต้นแบบน้อยลง เนื่องจากทางเรามีโปรเจคพัฒนางานที่สำคัญๆ หลายงาน ต้องใช้ทรัพยากรและเวลามาก สิ่งที่ยังพอให้บริการได้ก็จะเป็นงานรับตัดโฟม ฟองน้ำ แบบทางวิศวกรรม ที่ทั่วๆไป ไม่สามารถทำได้ ส่วนการให้คำปรึกษาก็ยังคงเหมือนเดิมคือใช้ช่องทาง e-mail และผู้เขียนหวังว่าเด็กรุ่นใหม่ที่ชอบสายงานการพัฒนา การวิจัย เมื่อเข้ามาอ่าน มาดูรูปงานเก่าๆ ที่ผู้เขียนยังไม่ได้ลบออกจากเว็บ บางงานเก่ากว่า 20 ปี แต่มันยังให้แรงบันดาลใจกับเด็กๆ ก็จะยังไม่ได้ลบออก
สุดท้ายผู้เขียนจะพยายามนำรูปภาพ บทความใหม่ๆ บางทีอาจจะเป็นงานเก่าที่ไม่เคยนำเสนอ มาแบ่งให้ได้รับชมกันบ้าง ให้รู้ว่างานฝีมือคนไทยที่ต่างชาตินำไปใช้ก็มี งานฝีมือคนไทยที่ไปอยู่ใน Lab วิจัยก็มีมากมายที่คนสร้างเป็นคนไทย
ปรับแต่งระบบเบรกในสายงานรถยนต์ โมดิไฟล์เครื่องเชื่อมไฟฟ้า พัฒนาชุดควบคุม CNC เครื่องดัดโฟมที่สร้างอาชีพให้ใครหลายคน บอร์ด IOT เมื่อ 10กว่าปีก่อน ที่ยังไม่มี chip ให้ใช้งานง่ายๆ เหมือนสมัยนี้ บอร์ด IOT รุ่นบุกเบิก เครื่องนับฟองที่ไปอยู่ใน LAB ใหญ่ๆ หลายมหาวิทยาลัยทั้งไทยและต่างประเทศ ประกอบงานไปด้วย เลี้ยงแมวไปด้วย(เจ้านาย) งานเชื่อมหัวเผาไหม้ก็ทำ สมัยเริ่มพัฒนางานต้นแบบ ก็ต้องเรียนรู้จากการลงมือทำ