Warning: call_user_func_array() expects parameter 1 to be a valid callback, class '' not found in /home/thaiamp/public_html/wp-includes/class-wp-hook.php on line 308

Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /home/thaiamp/public_html/wp-includes/class-wp-hook.php:308) in /home/thaiamp/public_html/wp-includes/feed-rss2.php on line 8
7 segments – "เราทำสิ่งที่แตกต่างเพื่อให้ตรงตามความต้องการของคุณ" https://thaiamp.com research and develope embedded system electronics Tue, 05 Nov 2013 21:41:29 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.2.6 ทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องวัดรอบ https://thaiamp.com/archives/324 Tue, 11 Jun 2013 07:12:31 +0000 http://www.thaiamp.com/?p=324 ทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องวัดรอบแบบดิจิตอล

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกับการวัดรอบการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ กันก่อน เพื่อที่จะหาวิธีการวัดค่าความเที่ยงตรงได้เหมาะสม โดยผู้อ่านทดลองดูตามวิธีการดังนี้ คือ คำว่ารอบต่อนาที
แปลง่ายๆ ก็ คือ ในหนึ่งนาทีสามารถทำงานได้กี่รอบ และถ้าหากต้องการทราบว่าใน 1 วินาที ทำงานได้กี่ครั้ง เพื่อให้อ่านค่าออกมาเป็น Hz ได้ ก็จะนำมาเขียนเป็นสมการออกมาดังนี้

จาก สมการที่เราเขียนออกมาได้ ก็จะทำให้สามารถอ่านค่าการทำงานในรูปแบบ รอบต่อนาทีออกมาเป็นรอบต่อวินาทีได้ ทั้งนี้เพื่อให้การทดสอบด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาใช้งาน และความเที่ยงตรงที่จะอ่านได้
โดยการทดสอบความเที่ยงตรงเราจะใช้เครื่องมือหลักๆ อยู่สองตัว คือ

  • ดิจิตอลออสซิลโลสโคป
  • ซิกแนลเจนเนอร์เรเตอร์

โดย การนำสัญญาณที่เครื่องซิกแนลเจนฯ สร้างขึ้นส่งให้กับเครื่องวัดรอบที่สร้างขึ้น พร้อมกันนั้นเราจะทำการวัดค่าโดยออสซิลโลสโคป ดูรูปประกอบ

รูปวิธีการทดสอบ

ยก ตัวอย่างเช่น หากต้องการให้ Tacho meter อ่านค่าออกมาเป็น 60 rpm เราต้องตั้งให้ซิกแนลเจนฯ สร้างสัญญาณพัลส์ออกมาที่ 1Hz เครื่องวัดรอบที่สร้างขึ้นต้องอ่านค่าได้ 60 และเช่นเดียวกัน ถ้าเราตั้งค่า
ที่ซิกแนลเจนเป็น 30Hz เครื่องวัดรอบที่สร้างขึ้นจะต้องอ่านค่าได้ 1,800 rpm เป็นต้น

เหตุ ที่นำซิกแนลเจนเนอร์เรเตอร์มาเป็นตัวสร้างสัญญาณ เนื่องจากมีความเที่ยงตรงในการสร้างสัญญาณจะสูงกว่าการนำเครื่องมือวัดที่ สร้างขึ้นเทียบกับเครื่องวัดรอบที่มีจำหน่ายอยู่แล้วตามท้องตลาด อีกทั้งเครื่องวัดรอบที่มีจำหน่ายอยู่แล้วทั่วๆ ไป จะเป็นรุ่นที่เป็นเข็มทำให้ไม่สามารถอ่านค่าได้ละเอียด จึงใช้เครื่องมือที่มีการอ่านค่าได้ละเอียดมาเป็นตัวเทียบ
ทดสอบการทำงาน

[zooeffect AILALMLYSM1g]

จากตัวอย่าง การทดสอบความเที่ยงตรงที่เห็นนั้น จะมีค่าความผิดพลาดเป็นลิเนียร์ ตลอดย่าน เนื่องจากการคำนวณของเครื่องวัดรอบที่สร้างขึ้นนั้น ใช้สมการในการนำสัญญาณที่ได้มาทำการคำนวณรอบที่แท้จริง
ทำให้ผลที่ได้เป็นค่าที่ได้จากการนำสมการคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ อีกทั้งค่าที่ทำการคำนวณนั้นมีความละเอียดสูงถึง 32 bit ทำให้ค่าที่ออกมาละเอียดมาก

เทคนิค ที่ใช้สร้างเครื่องวัดรอบเครื่องนี้ใช้เทคนิคการวัดความกว้างของพัลส์ที่ อ่านได้ โดยการอ่านจากขอบของสัญญาณ ทำให้การนำไปวัดสัญญาณใด ๆ นั้นถึงแม้สัญญาณจะมี duty cycle ไม่เท่ากันก็ตาม เครื่องวัดก็ยังสามารถอ่านค่าได้เที่ยงตรง ที่สำคัญคือ เครื่องวัดนี้จะอ่านค่าของรอบการทำงานทุกๆ รอบนำมาคำนวณ ทำให้ค่าที่คำนวณได้นี้ นำไปใช้ในการทำงานของเครื่องมืออื่นๆ ต่อไปได้ เช่น การนำค่าที่คำนวณได้นี้ไปสร้างกล่อง ECU ที่ใช้ควบคุมเครื่องยนต์ หรือนำไปควบคุมกล่อง CDI เพื่อปรับองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ได้ อีกทั้งค่าที่ส่งออกมานี้ยังสามารถนำมาเขียนกราฟการทำงานของเครื่องยนต์ เครื่องจักรที่เรานำไปวัดได้อีกด้วย และหากสังเกตุการทำงานของเครื่องวัดนี้แล้ว จะเห็นว่าในส่วนของตัวเลข จะมีการกระพริบน้อยมาก เนื่องจากค่าที่นำมาแสดงในส่วนของตัวเลขนี้ มีการนำค่าที่อ่านได้หลายๆ ครั้งมาก เฉลี่ยแล้วจึงส่งผลให้ค่าที่เราจะอ่านจากหน้าจอสามารถอ่านค่าได้ทัน แต่ในส่วนของแถบแสงนั้น มีการเฉลียค่าที่แสดงน้อยกว่า จึงเห็นว่าแถบแสงจะเปลี่ยนแปลงค่าได้เร็วกว่าในส่วนของตัวเลข และหากมีการวัดค่าที่สูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ แถบแสงก็ยังสามารถแสดงผลได้โดยการเลื่อนแถบไปในรอบที่สูงขึ้นมากถึงสองเท่า เช่น หากตั้งค่าสูงสุดไว้ที่ 8,000 รอบต่อนาที แต่ค่าที่เครื่องวัด สามารถวัดได้มีค่าสูงกว่า แถบแสงจะเลื่อนไปในด้านที่ค่าสูง เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบว่าค่ามากเกินกว่าที่ควรจะเป็นแล้ว

ในส่วนของการคำนวณที่ให้ผลการวัดออกมาได้มากถึง 55,000 รอบต่อนาทีนั้น ทำให้เครื่องที่สร้างขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในงานอื่นๆไ ด้อีกมากมาย เช่น การวัดรอบการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า ความเร็วของเครื่องจักร ความเร็วของใบพัดเครื่องบิน และตัวเครื่องที่สร้างขึ้นยังสามารถรับสัญญาณอินพุทจากอุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น การนำไปต่อกับตัวตรวจจับแสง พล๊อกสวิตช์ 

ในส่วนของการนำ ไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ นั้น ผู้สร้างจะนำมานำเสนอวิธีการนำไปใช้ เช่น การต่อเพื่อวัดรอบเครื่องจักร ให้เห็นกันอีกในโอกาสต่อไปครับ

หากท่านผู้อ่าน ต้องการวัดค่าของรอบการทำงานที่แท้จริงแล้ว จากผลการทดสอบที่เห็น ท่านสามารถมั่นใจได้ว่าค่าที่ท่านอ่านได้จากเครื่องวัดนี้จะเป็นค่าที่แท้ จริงและเที่ยงตรงอย่างแน่นอน หากมีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถสอบถามผู้สร้างได้โดยตรง ทางผู้สร้างหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครื่องวัดชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ นำไปใช้งานในด้านต่างๆ ไม่มากก็น้อย และต้องขอขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจกับเราเสมอมา และทางผู้สร้างยินดีให้คำแนะนำเพิ่มเติมครับ

พิเศษ สำหรับผู้ที่ต้องการนำเครื่องวัดรอบนี้ไปใช้งานในรูปแบบของตัวเอง ไม่ซ้ำกับใครๆ สามารถสั่งทำกล่องใส่ให้มีความแตกต่างออกไปได้ เช่น ที่บังแสงให้สั้นกว่าที่โชวในเว็บ หน้ากากสีอื่นๆ หรือแม้กระทั้งสีของหลอดไฟแสดงผลก็เลือกได้ว่าต้องการสีอะไร "เพื่อให้ท่านได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และเป็นงานที่สร้างขึ้นเฉพาะท่านเท่านั้น"

บทความโดย กิติภูมิ กาญจนา

]]>
รับทำบอร์ดแสดงผล 7 Segment แบบต่างๆ https://thaiamp.com/archives/173 Wed, 05 Jun 2013 08:38:13 +0000 http://localhost/wordpress/?p=173

รับทำบอร์ดแสดงผล 7 Segment แบบต่างๆ

รับทำบอร์ดแสดงผล 7 Segment แบบต่างๆรับทำบอร์ดแสดงผล 7 Segment แบบต่างๆ
เช่น บอร์ดแสดงค่าพลังงานไฟ้ฟ้า บอร์ดแสดงผลค่าจากมิเตอร์ ผ่าน Modbus ตัวบอร์ดแสดงผลที่ดึงค่าจากมิเตอร์อุตสาหกรรมสามารถแสดงผลค่าต่างๆ ได้ เช่น ค่ากระแส ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังงานเป็นต้น ตัวบอร์ดต่อสายสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่น RS485 Lan ผ่านโปรโตคอล TCP/IP หรือจะดึงค่าจากอินเตอร์เน็ตมาแสดง ก็สามารถทำได้ รับทำตั้งแต่ 1 ชิ้น จนถึงจำนวนมาก

 


 

 

มีหลายขนาด ขนาดมาตราฐานที่มีของเลย คือตัวเลขสูง 0.8 นิ้ว 2.3 นิ้ว และ 4 นิ้ว (เป็นขนาดที่นิยมสูงสุด)

ตัวกล่องเป็นกรอบอลูมิเนียม (Aluminium) มีจุดยึดขาตั้ง สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับงานรูปแบบต่างๆ

ตัวอย่างจอแสดงผลติดต่อกับมิเตอร์อุตสาหกรรม แสดงค่าการใช้พลังงานที่มิเตอร์อ่านได้ ผ่าน Modbus ผู้ใช้เลือกค่าที่ต้องการแสดงผ่านสวิตช์ อัตราการอ่านค่ารวดเร็ว อัพเดททุกๆ 0.3 วินาที ตัวอย่างจอแสดงผลติดต่อกับมิเตอร์อุตสาหกรรม แสดงค่าการใช้พลังงานที่มิเตอร์อ่านได้ ผ่าน Modbus ผู้ใช้เลือกค่าที่ต้องการแสดงผ่านสวิตช์ อัตราการอ่านค่ารวดเร็ว อัพเดททุกๆ 0.3 วินาที

 

มีหลายขนาด และฟังก์ชั่นการทำงาน ผู้ใช้สามารถกำหนดได้ตอนสั่งทำ
มีหลายขนาด และฟังก์ชั่นการทำงาน ผู้ใช้สามารถกำหนดได้ตอนสั่งทำ

 

สีของหลอด (7 Segment) ผู้ใช้งานเลือกได้
สีของหลอด (7 Segment) ผู้ใช้งานเลือกได้

 

ตัวมิเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการให้เชื่อมต่อ ผู้ใช้งานเลือกได้ทุกรูปแบบการสื่อสารเช่น Modbus ,TCP/IP, RS232, RS422, RS485
ตัวมิเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการให้เชื่อมต่อ ผู้ใช้งานเลือกได้ทุกรูปแบบการสื่อสาร

เช่น Modbus ,TCP/IP, RS232, RS422, RS485

 

สั่งจำนวนมากมีส่วนลด และบรรจุหีบห่อ ก่อนส่งให้
สั่งจำนวนมากมีส่วนลด และบรรจุหีบห่อ ก่อนส่งให้

 

ขนาดตัวเลขสูง 2.3 นิ้ว ตัวกรอบจะใหญ่กว่าเล็กน้อย จุดยึดขาตั้งอยู่ด้านข้าง
ขนาดตัวเลขสูง 2.3 นิ้ว ตัวกรอบจะใหญ่กว่าเล็กน้อย จุดยึดขาตั้งอยู่ด้านข้าง

 

ในกล่องทุกกล่องมีพัดลมระบายอากาศ เครื่องสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ระบบจ่ายไฟเป็นแบบสวิตช์ชิ่ง รับแรงดันด้านเข้าได้หลายระดับ สำหรับช่องรับสัญญาณหรือสวิตช์ต่างๆ จะต่อจากด้านหลังของกล่อง สามารถถอดแยกจากกันได้
ในกล่องทุกกล่องมีพัดลมระบายอากาศ เครื่องสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง
ระบบจ่ายไฟเป็นแบบสวิตช์ชิ่ง รับแรงดันด้านเข้าได้หลายระดับ
สำหรับช่องรับสัญญาณหรือสวิตช์ต่างๆ จะต่อจากด้านหลังของกล่อง สามารถถอดแยกจากกันได้

 

รับทำตามขนาดที่ผู้ใช้งานต้องการ ตั้งแต่ 1 หลักขึ้นไป
รับทำตามขนาดที่ผู้ใช้งานต้องการ ตั้งแต่ 1 หลักขึ้นไป

 

 

]]>